วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

การสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล
       ในปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลมีบทบาทและความสำคัญที่ได้พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้โดยการผ่านสื่อกลางต่างๆ ซึ่งสื่อกลางแต่ละแบบ ก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

สื่อการสื่อสารข้อมูล
       การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะมีสื่อกลางสำหรับเชื่อมโยงสถานีหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นตัวกลางให้ผู้ส่งข้อมูล จากผู้ส่งไปยังผู้รับได้ สื่อกลางการสื่อสารข้อมูลแบ่งออกเป็น 2ประเภท ดังนี้
                                       1.สื่อกลางทางกายภาพ (physical media)
                                       2.การสื่อสารไร้สาย (wireless media)

*******************************************

สื่อกลางทางกายภาพ (physical media) เป็นการเชื่อมโยงสถานีระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล โดยอาศัยสัญญาณเป็นสื่อกลางในระบบสื่อสารข้อมูล ตัวอย่างสายสัญญาณ มีดังนี้
      1.1 สายดีเกลียวคู่ (twisted pair cable หรือ TP) ประกอบด้วยลวดทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวนพลาสติกจำนวน 4คู่ แต่ละคู่จะพันกันเป็นเกลียว 2คู่จะใช้สำหรับช่องทางการสื่อสาร 1ช่องทาง สายเกลียวคู่เป็นมาตรฐานในการส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลได้ในระยะเวลานาน สายสัญญาณประเภทนี้นิยมใช้เป็นสานโทรศัพท์ เพื่อส่งสัญญาณโทรศัพท์

       1.2 สายโคแอกเชียล (coaxial cable) ประกอบด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าสายดีเกลียวคู่ ประมาณ 80 เท่า ส่วนใหญ่ใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์

     1.3 สายใยแก้วนำแสง (fiberoptic cable)  ประกอบด้วยเส้นใยแก้วขนาดเล็กซึ่งหุ้มด้วยฉนวนหลายชั้น โดยการส่งข้อมูลใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วถึง 26,0006 เท่าของสายดีเกลียวคู่ มีน้ำหนักเป็นและมีความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลมากกว่าสายโคแอกเซียล อีกทั้งการส่งจะใช้ลำแสงในการส่งที่มีความเร็วเทียวเท่ากับความเร็วแสง ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เป็นระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง

*******************************************

       การสื่อสารไร้สาย (wireless media) เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สายสัญญาณ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล แต่จะใช้อากาศเป็นสื่อกลาง ตัวอย่างสื่อกลางไรสายมรดังนี้


2.1 อินฟราเรด (infrared) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแสงที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลในระยะที่ไม่ไกล การส่งข้อมูลในคลื่นอินฟราเรดต้องส่งในแนวเส้นตรง และไม่สารถทะลุสิ่งกีดขวางที่มีความหนาได้ นิยมถ่ายโอนข้อมูลแบบพกพา เช่น โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพีดีเอไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นต้น
2.2 คลื่นวิทยุ (radio wave) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เรียกว่า เครื่องรับส่ง (transceiver) ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณวิทยุจากอุปกรณ์ไรสายต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ที่สามารถเปิดเว็บไซต์ได้ เป็นต้นผู้ใช้บางรายใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการเชื่อมต่อเพื่อใช้บริการอินเตอร์เน็ต
              ปัจจุบันมีเทคโนโลยีไร้สายใช้คลื่นวิทยุ คือ บลูทูธ (Bluetooth)  ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณวิทยุในระยะสั้น เหมาสำหรับการติดต่อสื่อสารในระยะ 33 ฟุต การส่งสัญญาณสามารถส่งผ่านสิ่งกีดขวางได้ ทำให้เทคโนโลยี บลูทูธ มีความนิยมสูง จึงมีการเอามาบรรจุลงในเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น
2.3 ไมโครเวฟ (microwave) เป็นการสื่อสารโดยใช้วิทยุความเร็วสูงสามารถส่งสัญญาณออกเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปอีกสถานีหนึ่งในแนวเส้นตรง ไม่สามารถโค้งหรือเลี้ยวได้ สามารถรับส่งได้ในระยะทางใกล้ๆ นิยมใช้ระหว่างการสื่อสารสำหรับอาคารที่อยู่ในเมืองเดียวกัน หรือวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย สำหรับการสื่อสารในระยะทางไกลๆต้องใช้สถานีรับและกระจายสัญญาณ ซึ่งมีลักษณะเหมือนจานหรือเสา เพื่อส่งสัญญาณออกเป็นทอดๆโดยติดตั้งบนพื้นที่สูง เช่น ยอดเขา หอคอย ตึก เป็นต้น โดยปกติความถี่ไมโครเวฟจะอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในด้านโทรคมนาคมและการทำอาหาร
2.4 ดาวเทียม (satellite) เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ แต่เนื่องจากเป็นคลื่นที่เดินทางในแนวเส้นตรง ทำให้พื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศหรือภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น จึงมีการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก ทำให้หน้าที่เป็นสถานีส่งหรือรับข้อมูลถ้าเป็นข้อมูลที่ส่งข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียมเรียกว่า การเชื่อโยงขึ้นหรือ อัปลิงค์ (Uplink) ส่วนการรับข้อมูลจากดาวเทียมสู่ภาคพื้นดินเรียกว่า การเชื่อมโยงหรือดาวน์ลิงค์ (down linkทั้งนี้มีระบบเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมและอาศัยการทำงานของดาวเทียมเป็นหลัก คือ ระบบจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) ที่ช่วยตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่บนพื้นผิวโลก เช่นการติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสไว้ในรถและทำงานร่วมกับแผนที่ ผู้ใช้สามารถขับรถไปตามระบบนำทางได้ นอกจากนี้ยังได้นำอุปกรณ์จีพีเอสมาติดตั้งในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย